|
|
โครงการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการและสาธิต
เรื่อง
“ วิทยุสมัครเล่นมีมากกว่าที่คุณคิด ”
SART 2011
“ Surat Thani Amateur Radio Technology 2011 ” |
|
|
1.หลักการและเหตุผล |
การพัฒนาบุคลากร ที่มีความรู้ในด้านการสื่อสาร ที่ยั่งยืนและมีคุณค่าที่สุด คือการพัฒนาทรัพยากร บุคคลากรมนุษย์ โดยเฉพาะใน กิจการวิทยุสมัครเล่น การพัฒนาคุณภาพของ บุคคลากร นักวิทยุสมัครเล่นไทย บทบาทและหน้าที่หลักของสถานีนักวิทยุสมัครเล่น และสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย ที่มีหน้าที่ดูแลนักวิทยุสมัครเล่น ให้ใช้ความถี่ให้ตรงตามที่ประกาศไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 152ง ตามความใน ระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2550
ดังนั้นการให้ความรู้ที่ถูกต้อง จึงเป็นปัจจัยหลัก ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาบุคคลากร ให้มีความทันสมัย ต่อตัว เทคโนโลยี ในตัวนักวิทยุสมัครเล่นเอง และในกิจการวิทยุสมัครเล่นด้วย และไม่เป็นเพียงการพูดถึง หรือ เรื่องเล่าปรัมปรา ที่เป็นตำนานที่เชื่อกันแบบผิดๆ เท่านั้น
ทางสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นสุราษฎร์ธานี, HS8AS กลุ่ม TAMSAT และ เพื่อนกลุ่ม Conf Echolink ห้อง “BANGKOK ” จึงได้เห็นความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ของนักวิทยุสมัครเล่นและสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย ซึ่งมีผลไปยังการพัฒนากิจการวิทยุสมัครเล่นไทยด้วย จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก โดยมุ่งหวังว่า จะทำให้ นักวิทยุสมัครเล่นและเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย ได้มีความรู้ในการติดต่อสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่น ในโหมดการติดต่อสื่อสารอื่นๆ และการใช้งานความถี่อื่นๆ ของนักวิทยุสมัครเล่นเอง ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ ได้มากขึ้นซึ่งจะลบล้างความเชื่อที่ผิดๆ เรื่องเล่าที่ไม่ถูกต้องแก่นักวิทยุสมัครเล่นที่เข้าร่วมสัมมนา
ฉะนั้น การส่งเสริม ความรู้ และเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยเสริมความเข้มแข็งและเข้มข้นทางวิชาการให้กับนัก วิทยุสมัครเล่นทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ให้มีพื้นฐานที่ดีเพื่อการพัฒนากิจการวิทยุสมัครเล่นในอนาคตต่อไป |
|
2.วัตถุประสงค์ |
2.1 เพื่อส่งเสริมบุคลากรนักวิทยุสมัครเล่นให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมนานาอารยประเทศ และมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล
2.2 เพื่อส่งเสริมให้นักวิทยุสมัครเล่นรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ มีความเข้าใจเรื่องของความถี่และการ ติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่น นอกเหนือ จากการพูดคุยเท่านั้น
2.3 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเข้าใจ ทักษะ และกระบวนการติดต่อสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2.4 เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิทยุสมัครเล่นทั้งเก่าและใหม่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นต่างๆ ซึ่งกัน และกันเพื่อก่อให้เกิด ความ ร่วมมือ ในการพัฒนาระบบต่างในกิจการวิทยุสมัครเล่น
2.5 เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในหมู่มวลนักวิทยุสมัครเล่น
|
|
3.คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสัมมนา |
3.1 เป็นนักวิทยุสมัครเล่นทั่วไป ที่มีความสนใจในการพัฒนาการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ
3.2 บุคคลผู้สนใจและตั้งใจที่จะศึกษาในเรื่องของการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่นอกเหนือ
จากการพูดคุยปกติ
|
|
4.ผู้เข้าร่วมสัมมนา |
เป็นนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งเก่าและใหม่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ ไม่จำกัดจำนวน
|
|
5.ระยะเวลาในการจัดสัมมนา |
วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554 เวลา 08.30 - 16.30 น.
|
|
6.สถานที่ |
สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (CO OP)
เลขที่ 138-138/1 หมู่ 3 ถนนเอเชียสาย 41 ต.หนองไทร อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
|
|
7. รูปแบบการสัมมนา |
วิทยากรสลับขึ้นบรรยายในหัวข้อต่างๆ และมีส่วนจัดแสดงตัวอย่างรวมทั้งการสาธิต อยู่รอบๆ บริเวณจัดบรรยาย
|
|
8. เนื้อหาของการบรรยาย |
(1) การติดต่อสื่อสารในโหมดต่างๆ โดยรวม และการใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่นอย่างถูกต้อง
(2) การติดต่อสื่อสารในความถีย่าน HF โหมดการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ
(3) การแข่งขัน (contest) ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
(4) การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น และ Packet Radio
(5) พื้นฐานการทำงาน และการใช้งานระบบ APRS
(6) การติดต่อสื่อสารคลื่นสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ และสะท้อนหางฝนดาวตก
(7) การติดต่อสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน
(8) การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบ VoIP โปรแกรม ECHOLINK และ ระบบ REPEATER
(9) การค้นหาแหล่งที่มาของสัญญาณ ARDF (FOX HUNTING)
|
|
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
|
สมาคมนักวิทยุสมัครเล่นสุราษฎร์ธานี HS8AS
กลุ่มผู้สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมประเทศไทย TAMSAT
กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่น Conf Echolink ห้อง “BANGKOK ” Conf “BANGKOK “
|
|
ที่ปรึกษาโครงการ |
คุณธิดา เด่นพฤกษ์ธรรม, HS1ASC / WH6DQR
คุณชวลิต รัศมีนิล, E20KEW
คุณเฉลิมพล เมืองอำพัน, E21EIC / KY1A
|
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
ทำให้นักวิทยุสมัครเล่น ทั้งเก่าและใหม่ มีความรู้ ความเข้าใจ และใช้ความถี่ ในการติดต่อสื่อสารในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน เมื่อยามจำเป็น
- ความรู้ที่ผู้เข้ารับฟังการบรรยายสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ให้นักวิทยุสมัครเล่นท่านอื่นๆได้ทราบต่อๆ กันไป
- ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนา เครือข่าย ระบบ APRS , Echolink และ REPEATER อย่างถูกต้อง
- ทำให้นักวิทยุสมัครเล่นมีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและใช้งานวิทยุสื่อสารในภาวะฉุกเฉินและสามารถหาที่มาของสัญญาณต่างๆได้
|
11. กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554 |
08.30 – 09.00 น. |
|
ลงทะเบียน |
09.00 – 09.30 น. |
|
กล่าวเปิดงานสัมมนาและเกรินนำเรื่องทั้งหมด |
09.30 - 10.15 น. |
|
การบรรยายเรื่อง ”การติดต่อสื่อสารความถี่ย่าน HF ในโหมดการ ติดต่อสื่อสารแบบต่าง ๆ เช่น CW, SSB, RTTY การแข่งขัน (contest) ต่างๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น |
10.15 – 10.30 น. |
|
พักผ่อนตามอัธยาศัย |
10.30 – 11.15 น. |
|
การบรรยายเรื่อง "การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นและกิจการอวกาศ" |
11.15 - 12.00 น. |
|
การติดต่อสื่อสารคลื่นสะท้อนดวงจันทร์ EME และ ฝนหางดาวตก |
12.00 - 13.00 น. |
|
พักรับประทานอาหารตามอัธยาศัย |
13.00 – 13.45 น. |
|
การบรรยายเรื่อง การเริ่มต้นและการใช้งาน ระบบ APRS |
13.45 – 14.30 น. |
|
บอลลูนวิทยุสมัครเล่น |
14.30 - 14.45 น. |
|
พักผ่อนตามอัธยาศัย |
14.45 - 15.30 น. |
|
การบรรยายเรื่อง ผ่านระบบ VoIP ECHOLINK และ Repeater |
15.30 - 16.15 น. |
|
การบรรยายเรื่อง "การติดต่อสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน" และ การค้นหาแหล่งที่มาขอสัญญาณ FOXHUNTING |
16.15 - 16.30 น. |
|
กล่าวปิดการสัมมนา |
|
*หมายเหตุ
เนื้อหาการบรรยายอาจจะมีการปรับให้เหมาะสมกับเวลา
13.30 - 16.30 น. สอบ US Amateur Radio License (สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนสอบ)
รายนามวิทยากร SART 2011
การบรรยายเรื่อง ”การติดต่อสื่อสารความถี่ย่าน HF ในโหมดการ ติดต่อสื่อสารแบบต่าง ๆ เช่น CW, SSB, RTTY การแข่งขัน (contest) ต่างๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
โดย คุณเฉลิมพล เมืองอำพัน, E21EIC แชมป์โอลิมปิกวิทยุสมัครเล่นโลก ที่บราซิล ปี 2006
การบรรยายเรื่อง "การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นและกิจการอวกาศ"
โดย คุณชวลิต รัศมีนิล, E20KEW ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศและเทคโนโลยี
การติดต่อสื่อสารคลื่นสะท้อนดวงจันทร์ EME และ ฝนหางดาวตก
โดย ร.ต.อ.พงศกร วงศ์สวัสดิ์, HS9IFG และทีมงาน (ผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์การติดต่อ EME คณะแรกในเมืองไทย)
การเริ่มต้นและการใช้งาน ระบบบอกตำแหน่งพิกัดอัตโนมัติ APRS
โดย อ.พรชัย โอฬาริกเดช, E20GJW และทีมงาน APRS THAILAND อาทิ E20GMY, HS0TK, HS6MYW (ผู้สร้างโครงข่ายและพัฒนาระบบ Packet Radio และ APRS ในประเทศไทย)
บอลลูนวิทยุสมัครเล่นและการประยุกต์ใช้งาน
โดย คุณธนันต์ รังสีพรหม, HS1JAN และ คุณนพดล นิ่มวนาดอน, HS5IGY (ผู้ทดสอบการปล่อยบอลลูน และ รีพีทเตอร์ว่าวคนแรกของเมืองไทย)
การบรรยายเรื่อง "ระบบ VoIP ECHOLINK และเทคโนโลยี D-STAR"
โดย คุณอนันต์ แป้นทองคำ, HS1GAB (ผู้สร้างโครงข่ายและพัฒนาระบบ VoIP ในเมืองไทย)
การบรรยายเรื่อง การติดต่อสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน และ การค้นหาแหล่งที่มาขอสัญญาณรบกวน ARDF
โดย คุณธิดา เด่นพฤกษ์ธรรม, HS1ASC (บรรณาธิการอาวุโสนิตยสาร 100 วัตต์)
ภายในงานท่านจะได้สัมผัสเครื่องวิทยุคมนาคม สายอากาศ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานจริง ในทุกหัวข้อการบรรยาย
และสามารถทดสอบทดลองออกอากาศได้
สำรองที่นั่ง online ได้ที่ http://www.e21eic.net
ผู้เข้าร่วมงานไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น !
รายชื่อ VE ผู้ร่วมคุมสอบ US Amateur Radio License ใน SART 2011
1. KY1A / E21EIC (VE Team Liaison)
2. AB1OE / E27EK
3. KB3KCI / E20EHQ
4. AG6BD / HS8JYX
6. AG6BE / HS4RAY
|
|